เวลาในการอ่าน: < 1 นาที

ผู้คนมักสงสัยว่าการเล่นดนตรีนั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลา ทำให้เสียการเรียนหรือไม่ และ มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ผมมีข้อมูลงานวิจัยจากแหล่งน่าเชื่อถือ ซึ่งผมได้รวบรวมไว้ในบล็อกนี้

  • งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่าง มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา
  • งานวิจัยของ คุณ Anita Collins โปรเจ็ค TedEd จากรายการ TedTalk ที่มีผู้มีชื่อเสียง (อย่างเช่นบุคคลชื่อดังอย่าง บิล เกตส์) ที่ขึ้นเวทีเสวนาในเรื่องสาระน่าสนใจมากมาย
  • งานวิจัยของ มหาวิทยาลัย จอห์นฮ็อปกิ้นส์ รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา
  • และ  งานวิจัยของ  คุณ Tatsuya Daikoku  และ  คุณ Masato Yumoto  ที่ถูกตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว

ผมค้นพบว่าการเล่นดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเริ่มต้นเล่นดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก นั่นเป็นเพราะว่าพัฒนาสมองนั้นทำได้มากสุดตอนที่ยังอายุน้อย จากการศึกษาข้างต้นเราพบว่า

1. เปิดโอกาสให้สมองพัฒนาได้อย่างเต็มที่

การเล่นดนตรีจะพัฒนาสมองทั้งสองซีก ซึ่งต่างจากปกติที่สมองจะพัฒนาหนักไปซีกใดซีกหนึ่งอย่างมาก เนื่องจากการเล่นดนตรีต้องใช้ทั้งสมองซ้ายและขวา โดยสมองซ้ายจะรับผิดชอบในการควบคุมการอ่านโน้ตเพลง และข้อมูลทางดนตรีต่างๆ ส่วนสมองขวาจะรับผิดชอบในการประมวลผลเสียงต่างๆ

การที่สมองพัฒนาสมองทั้งสองซีกทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ และ ปราดเปรื่อง หรือ พูดง่ายๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

2. การเพิ่มความสามารถในการจดจำ

การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่เรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรี แม้ว่าจะเริ่มต้นในช่วงชีวิตที่สูงวัยแล้ว ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของความจำของพวกเขาได้ นั่นเป็นเพราะการเรียนรู้ดนตรีทำให้สมองสร้างการเชื่อมโยงรูปแบบใหม่และเสริมการเชื่อมโยงที่มีอยู่แล้วให้แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ การเรียนรู้และการฝึกซ้อมดนตรีเกี่ยวข้องกับการทำซ้ำๆ ก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเครื่องดนตรี ร้องเพลง หรือเพียงแค่ฟังเพลง การนำเอาดนตรีมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันก็จะช่วยในส่วนความจำได้ดี

3. การพัฒนาทักษะการประสานกัน

การเล่นดนตรีต้องการทักษะการประสานกันที่ดีระหว่างมือ ตา และหู ซึ่งจะช่วยพัฒนาความชำนาญในการทำงานร่วมกันระหว่างสมองซ้ายและขวา ทำให้สมองมีความสามารถในการประมวลผลและปรับปรุงการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียดและภาวะโรค

การเล่นดนตรียังเป็นวิธีการที่ช่วยลดความเครียดและช่วยรักษาสุขภาพทางจิตใจได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาสุขภาพร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเล่นดนตรีทำให้มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำอีกด้วย

ยิ่งเราเริ่มต้นเล่นดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก (6 ขวบขึ้นไป) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เล่นดนตรี จะพบพัฒนาการทางความคิด ความเป็นระเบียบวินัย และ การคิดเป็นลำดับขั้นตอน ที่แตกต่างกันพอสมควร (ทั้งนี้ผลลัพย์อยู่ที่ความถี่ในการฝึกซ้อม และ การใส่ใจด้วย)

ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกๆ ที่ต้องการเรียนดนตรี นั้นทำข้อตกลง แบ่งเวลาอย่างมีระเบียบวินัย และ ให้เค้าได้ลองเรียนดนตรี ก็น่าจะเป็นอีก 1 ทางออกที่ดีครับ

เรียนดนตรี แนวทางศิลปิน SAMT MUSIC
เรียนดนตรี แนวทางศิลปิน SAMT MUSIC

หรือถ้าสนใจเครื่องดนตรีที่ง่ายต่อการเริ่มเช่นกีตาร์
ลองอ่านบทความนี้ครับ 7 ขั้นตอนเรียนกีตาร์ที่พิสูจน์แล้วว่าสนุกและง่าย

ที่มา

ขอขอบคุณรูปภาพดีๆ จาก Image by macrovector_official on Freepik

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
    เปิดใช้งานตลอด

    ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เลขประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการติดต่อเช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น ข้อมูลบัญชีเช่น บัญชีผู้ใช้งาน ประวัติการใช้งาน เป็นต้น หลักฐานแสดงตัวตนเช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการทำธุรกรรมและการเงินเช่น ประวัติการสั่งซื้อ รายละเอียดบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร เป็นต้น ข้อมูลทางเทคนิคเช่น IP address, Cookie ID, ประวัติการใช้งานเว็บไซต์ (Activity Log) เป็นต้น ข้อมูลอื่น ๆเช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราจะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ดังต่อไปนี้ เมื่อเราได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากคุณ เว้นแต่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

  • ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม

    ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เลขประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการติดต่อเช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น ข้อมูลบัญชีเช่น บัญชีผู้ใช้งาน ประวัติการใช้งาน เป็นต้น หลักฐานแสดงตัวตนเช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการทำธุรกรรมและการเงินเช่น ประวัติการสั่งซื้อ รายละเอียดบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร เป็นต้น ข้อมูลทางเทคนิคเช่น IP address, Cookie ID, ประวัติการใช้งานเว็บไซต์ (Activity Log) เป็นต้น ข้อมูลอื่น ๆเช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราจะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ดังต่อไปนี้ เมื่อเราได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากคุณ เว้นแต่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

บันทึกการตั้งค่า