ผู้คนมักสงสัยว่าการเล่นดนตรีนั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลา ทำให้เสียการเรียนหรือไม่ และ มีประโยชน์อย่างไร วันนี้ผมมีข้อมูลงานวิจัยจากแหล่งน่าเชื่อถือ ซึ่งผมได้รวบรวมไว้ในบล็อกนี้
- งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่าง มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา
- งานวิจัยของ คุณ Anita Collins โปรเจ็ค TedEd จากรายการ TedTalk ที่มีผู้มีชื่อเสียง (อย่างเช่นบุคคลชื่อดังอย่าง บิล เกตส์) ที่ขึ้นเวทีเสวนาในเรื่องสาระน่าสนใจมากมาย
- งานวิจัยของ มหาวิทยาลัย จอห์นฮ็อปกิ้นส์ รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา
- และ งานวิจัยของ คุณ Tatsuya Daikoku และ คุณ Masato Yumoto ที่ถูกตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว
ผมค้นพบว่าการเล่นดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเริ่มต้นเล่นดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก นั่นเป็นเพราะว่าพัฒนาสมองนั้นทำได้มากสุดตอนที่ยังอายุน้อย จากการศึกษาข้างต้นเราพบว่า
ประโยชน์ของดนตรีต่อลูกคุณมีดังนี้
1. เปิดโอกาสให้สมองพัฒนาได้อย่างเต็มที่
การเล่นดนตรีจะพัฒนาสมองทั้งสองซีก ซึ่งต่างจากปกติที่สมองจะพัฒนาหนักไปซีกใดซีกหนึ่งอย่างมาก เนื่องจากการเล่นดนตรีต้องใช้ทั้งสมองซ้ายและขวา โดยสมองซ้ายจะรับผิดชอบในการควบคุมการอ่านโน้ตเพลง และข้อมูลทางดนตรีต่างๆ ส่วนสมองขวาจะรับผิดชอบในการประมวลผลเสียงต่างๆ
การที่สมองพัฒนาสมองทั้งสองซีกทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ และ ปราดเปรื่อง หรือ พูดง่ายๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
2. การเพิ่มความสามารถในการจดจำ
การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่เรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรี แม้ว่าจะเริ่มต้นในช่วงชีวิตที่สูงวัยแล้ว ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของความจำของพวกเขาได้ นั่นเป็นเพราะการเรียนรู้ดนตรีทำให้สมองสร้างการเชื่อมโยงรูปแบบใหม่และเสริมการเชื่อมโยงที่มีอยู่แล้วให้แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ การเรียนรู้และการฝึกซ้อมดนตรีเกี่ยวข้องกับการทำซ้ำๆ ก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเครื่องดนตรี ร้องเพลง หรือเพียงแค่ฟังเพลง การนำเอาดนตรีมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันก็จะช่วยในส่วนความจำได้ดี
3. การพัฒนาทักษะการประสานกัน
การเล่นดนตรีต้องการทักษะการประสานกันที่ดีระหว่างมือ ตา และหู ซึ่งจะช่วยพัฒนาความชำนาญในการทำงานร่วมกันระหว่างสมองซ้ายและขวา ทำให้สมองมีความสามารถในการประมวลผลและปรับปรุงการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียดและภาวะโรค
การเล่นดนตรียังเป็นวิธีการที่ช่วยลดความเครียดและช่วยรักษาสุขภาพทางจิตใจได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาสุขภาพร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเล่นดนตรีทำให้มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำอีกด้วย
ยิ่งเราเริ่มต้นเล่นดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก (6 ขวบขึ้นไป) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เล่นดนตรี จะพบพัฒนาการทางความคิด ความเป็นระเบียบวินัย และ การคิดเป็นลำดับขั้นตอน ที่แตกต่างกันพอสมควร (ทั้งนี้ผลลัพย์อยู่ที่ความถี่ในการฝึกซ้อม และ การใส่ใจด้วย)
ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกๆ ที่ต้องการเรียนดนตรี นั้นทำข้อตกลง แบ่งเวลาอย่างมีระเบียบวินัย และ ให้เค้าได้ลองเรียนดนตรี ก็น่าจะเป็นอีก 1 ทางออกที่ดีครับ
หรือถ้าสนใจเครื่องดนตรีที่ง่ายต่อการเริ่มเช่นกีตาร์
ลองอ่านบทความนี้ครับ 7 ขั้นตอนเรียนกีตาร์ที่พิสูจน์แล้วว่าสนุกและง่าย
ที่มา
- https://scholar.google.co.th/scholar?hl=en&as_sdt=0%2C5&as_vis=1&q=how+music+affects+our+brain&btnG=
- https://www.artsandmindlab.org/the-healing-power-of-music-johns-hopkins-center-music-and-medicine/
- https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/keep-your-brain-young-with-music#:~:text=If%20you%20want%20to%20keep,%2C%20mental%20alertness%2C%20and%20memory.
- https://www.ucf.edu/pegasus/your-brain-on-music/
- https://www.livescience.com/how-does-music-affect-your-brain
- https://www.health.harvard.edu/blog/why-is-music-good-for-the-brain-2020100721062
- https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0028393220302268
ขอขอบคุณรูปภาพดีๆ จาก Image by macrovector_official on Freepik