เวลาในการอ่าน: 2 นาที

เริ่มเรียนดนตรีกี่ขวบดี?

เป็นคำถามได้รับมากที่สุด เราจึงตัดสินใจเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อไม่ให้เสียเวลามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ

3 – 5 ขวบ | ช่วงที่ดีที่สุด?

จากการที่เราได้สอนดนตรีให้เด็กหลากหลายกลุ่ม วันหนึ่งเราสังเกตุเห็นว่าเด็กๆ ช่วงอายุประมาณ 3-5 ขวบ มีพัฒนาการทางดนตรีที่ไวมาก เด็กส่วนใหญ่ที่เริ่มเรียนตอน 3 ขวบสามารถแซงหน้าเด็กที่เริ่มตอน 2 ขวบได้สบาย นั่นทำให้เราแปลกใจอยู่ไม่น้อย เพราะเราคาดว่ายิ่งเริ่มเร็วน่าจะยิ่งดี คำถามที่เรามี ณ ตอนนั้นคือ “เกิดอะไรขึ้นกับสมอง และ ร่างกายมนุษย์ในช่วง 3 – 5 ขวบ” เพราะเราเองก็เริ่มสงสัย

เราเริ่มค้นคว้าจนพบกับงานวิจัย และ หนังสือที่ชื่อว่า The Talent Code ได้อธิบายถึงสิ่งหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ในสมองเทียบเท่าผู้ใหญ่ตอนประมาณ 3 ขวบ เจ้าสิ่งนั้นเรียกว่า Myelin เจ้าสิ่งนี้แหละที่สร้างความแตกต่าง ซึ่งจะขอลงลึกในบทความต่อไป

Myelin ในสมอง
หน้าตาของเจ้า Myelin (Source: Britannica Encyclopedia)

ฉนั้น 3 – 5 ขวบจึงเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการเริ่มเรียนดนตรี จุดเริ่มต้นที่ดีคือ “คลาสเรียนดนตรีแบบกลุ่ม” ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกๆ

  • สนุก
  • ได้รับแรงบัลดาลใจ
  • ช่วยสร้างพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ที่ดีในอนาคต
  • พัฒนาการในเลข วิทยาศาสตร์ และ ภาษาดีกว่ามากเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เรียน*
  • เป็นการสร้างพัฒนาการทางสมองที่ดี* โดยเฉพาะเจ้า Myelin
  • และ ยังได้เข้าสังคมกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน
เรียนดนตรีสำหรับเด็ก 3-5 ขวบ SAMT Music

ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นรูปแบบและวัตถุประสงค์ของคลาสเรียนดนตรีแบบกลุ่ม:

  • เพื่อให้ลูกพัฒนาสัมผัสด้านจังหวะผ่านการตบมือ เคาะจังหวะ และเล่นเครื่องดนตรีแบบง่าย ๆ
  • เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะจำทำนองง่ายๆ และสามารถร้องตามได้
  • เพื่อให้ลูกได้สำรวจและรู้จักกับเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ

*งานวิจัยจาก Harvard และ Naam ค้นพบว่าเด็กๆ ที่สัมพัสกับดนตรีนั้นจะมีพัฒนาการทางพูด, การอ่าน, เลข, วิทยาศาสตร์ และ ภาษา รวมถึงการคิดแบบซับซ้อนได้ดีกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับเด็กๆในกลุ่มอายุเดียวกัน https://www.nammfoundation.org/why-music-matters/music-research-child, https://www.gse.harvard.edu/ideas/usable-knowledge/16/03/music-lessons และ Music and Brain Circuitry: Strategies for Strengthening Evidence-Based Research for Music-Based Interventions – PMC (nih.gov)

6 – 9 ขวบ | การขยับขยายขอบการเรียนรู้

ครูกำลังสอนกีตาร์ ตัวต่อตัว (private) สำหรับเด็ก 6 ขวบ SAMT Music

วัย 6 – 9 ขวบเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเริ่มหัดเครื่องดนตรีและเรียนดนตรีแบบตัวต่อตัว ทั้งนี้ให้พิจารณาจากความพร้อมของเด็ก เมื่อถีงวัยนี้ เด็ก 6 – 9 ขวบส่วนใหญ่จะมีความพร้อมด้านร่างกาย (เช่นกระดูกข้อมือ ขนาดของฝามือ ปอด) และจิตใจซึ่งได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ทำให้สามารถเรียนรู้เทคนิดที่ถูกต้องและเริ่มอ่านโน้ตดนตรีได้ดี

ในช่วงวัยนี้พัฒนาการต่างๆ ยังคงสำคัญเช่นเดิม ครั้งหนึ่งทีมนักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ทำการทดลองกับเด็กอายุ 5 – 6 ขวบจำนวน 23 คน โดยไม่มีเด็กคนไหนเคยเล่นดนตรีมาก่อน ทีมนักวิจัยได้ทำการสแกนสมองเก็บภาพตัวอย่างก่อนเรียนไว้ หลังจากนั้นทีมวิจัยได้แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะได้เรียนดนตรี และ อีกกลุ่มไม่ได้เรียน ทีมวิจัยติดตามเด็กๆ ทั้งสองกลุ่มอย่างต่อเนื่องไปอีก 9 เดือน เพื่อรอเก็บผล และ นี่คือผลที่ได้

สแกนสมองของเด็กๆ ที่เรียนดนตรี
3 ภาพบนคือรูปก่อนเรียน 3 ภาพล่างคือรูปหลังเรียน การเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ในสมองทำได้ดีขึ้นมาก

จากสแกนสมอง ทีมวิจัยค้นพบว่า เด็กที่เรียนดนตรีในช่วง 6 – 9 ขวบมีจุดเชื่อมสมองที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะ

จากงานวิจัยมหาวิทยาลัยมอนทรีออล (the University of Montreal)* พบว่าเด็กที่เริ่มเรียนเครื่องดนตรีก่อนอายุ 7 ขวบมีพัฒนาการส่วนเชื่อมต่อสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว (Brain’s motor regions) ที่แข็งแรงมากกว่าเด็กที่เริ่มเรียนที่หลัง

*AL. Penhune & DG. Zatorre. Musical communication reflects emotional intimacy. Science, 321, 1384–1386 (2008) [University of Montreal]

แต่ถ้าให้เนียนยิ่งขึ้น งานวิจัยชี้…

งานวิจัยชี้โครงสร้างของสมองและกลไกการประมวลผลในการเข้าใจดนตรีจะพัฒนาได้ดีที่สุดในช่วง 0 – 3 ขวบ ซึ่งหมายความว่าการที่ให้เด็กได้เจอกับดนตรีแต่เล็กมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งผู้ปกครองสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องเสียเงินซักบาท โดยให้เริ่มจากการ ให้เปิดเพลงและร้องหรือฮัมเพลงให้ลูกฟังไปด้วย ไม่ว่าอยู่ในรถ ยามว่างที่บ้าน หรือเวลาอาบนํ้าให้ลูก

แม่อาบน้ำให้เด็กแรกเกิด โดยเปิดเพลงให้ลูกฟังไปด้วย SAMT Music

สรุป

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพัฒนาการของลูกๆ ในแต่ละช่วงวัยที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการทางสมองที่ดีขึ้นโดยมีดนตรีเป็นสะพาน การเริ่มตั้งแต่เด็กจะช่วยให้ได้รับผลที่ดีที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ควรกดดันให้พวกเขาเริ่มเรียนดนตรีจริงจังเร็วเกินไปหากพวกเขาไม่ได้แสดงความสนใจหรือจำเป็นต้องได้รับพัฒนาการที่ขาด

เราเข้าใจว่าการเป็นที่คุณพ่อคุณแม่นั้นเรื่องลูกๆ เป็นเรื่องที่หนักใจที่สุด ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ SAMT Music ครับ เราได้ช่วยให้คำปรึกษาคุณพ่อคุณแม่กว่า 1000+ ราย สำหรับแนวทางที่ดีที่สุดอย่างเป็นระบบสำหรับการเรียนดนตรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการปรึกษา

ปรึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกคุณด้วยดนตรี

โทร: 064-947-4241
Line: @SAMT
Website: mysamt.com

ผู้ที่อ่านบล็อกนี้ก็อ่าน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
    เปิดใช้งานตลอด

    ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เลขประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการติดต่อเช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น ข้อมูลบัญชีเช่น บัญชีผู้ใช้งาน ประวัติการใช้งาน เป็นต้น หลักฐานแสดงตัวตนเช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการทำธุรกรรมและการเงินเช่น ประวัติการสั่งซื้อ รายละเอียดบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร เป็นต้น ข้อมูลทางเทคนิคเช่น IP address, Cookie ID, ประวัติการใช้งานเว็บไซต์ (Activity Log) เป็นต้น ข้อมูลอื่น ๆเช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราจะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ดังต่อไปนี้ เมื่อเราได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากคุณ เว้นแต่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

  • ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม

    ข้อมูลส่วนบุคคลเช่น ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เลขประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการติดต่อเช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น ข้อมูลบัญชีเช่น บัญชีผู้ใช้งาน ประวัติการใช้งาน เป็นต้น หลักฐานแสดงตัวตนเช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นต้น ข้อมูลการทำธุรกรรมและการเงินเช่น ประวัติการสั่งซื้อ รายละเอียดบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร เป็นต้น ข้อมูลทางเทคนิคเช่น IP address, Cookie ID, ประวัติการใช้งานเว็บไซต์ (Activity Log) เป็นต้น ข้อมูลอื่น ๆเช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราจะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ดังต่อไปนี้ เมื่อเราได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากคุณ เว้นแต่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

บันทึกการตั้งค่า